วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตอนที่ 1  กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และต่อมไร้ท่อ 
สาระสำคัญ     
            อวัยวะทุกส่วนของร่างกายทำงานสัมพันธ์กับเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายหากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อ ระบบอื่น                                                                                                                                        
1.1  ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย                         

มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ระบบต่างๆต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากมี อวัยวะหรือระบบใดทำงานผิดปกติย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ มีแนวทางการปฏิบัติดังนี้              
         1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล คืออาบน้ำให้สะอาดุทกวันสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น          
         2.บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาดปลอดภัย                               
         3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  จะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า จิตใจเบิกบานแจ่มใส เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค                      
         4.พักผ่อนให้เพียงพอ  เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดและลดความเมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ                                   
 1.2 ระบบประสาท                                                                                                                            
          1.2.1  องค์ประกอบของระบบประสาท                                                                                                                                                                               1. ระบบประสาทส่วนกลาง  ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง  สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ         
1) สมองส่วนหน้า                                                                                                                                                                                    
 - ซีรีบรัม  มีขนาดใหญ่ที่สุดทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ      
- ทาลามัส  ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่านทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก                                                                          
 - ไฮโพทาลามัส  เป็นศูนย์กลางควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ        
 2) สมองส่วนกลาง  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา                                                                         
 3)  สมองส่วนท้าย                                                                                                                                                                                   
 -  ซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ใดูแลการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย        
 -  พอนส์  ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้า  ควบคุมการหายใจ                                                                
 -  เมดัลลาออบลองกาตา  สมองส่วนนี้ต่อกันไขสันหลัง ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตมัติ                       
            ไขสันหลัง  เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง มีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นและมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื้อหุ้มเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมอง                                                                                             
            ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย ควบคุมปฎิกิริยารีเฟลกซ์                                                                                  
                   2. ระบบประสาทส่วนปลาย  ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฎิบัติงาน ประกอบด้วย                                                                                                                            
1) เส้นประสาทสมอง  มีอยู่ 12 คู่  ทอดมาจากสมองผ่านรูต่างๆของกะโหลกศีรษะไปเลี้ยงบริเวณศีรษะและลำคอ                
2) เส้นประสาทไขสันหลัง  มีอยู่ 31 คู่ ออกจากไขสันหลังผ่านรูระหว่างกระดูกสันหลังไปสู่ร่างกาน แขน ขา                                  
3) ประสาทระบอัตโนวัติ  ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ ศูนย์กลางการควบคุมจะอยู่ในก้านสมอง         
             1.2.2  การทำงานของระบบประสาท                                                                                                                                      
             เป็นระบบที่ทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในและส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ                                                                                                                
              1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท                                                                                                                            
 1) ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน       2) ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบในเด็ก     3) พยายามผ่อนคลายความเครียด  เช่น การออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ                                      
 1.3  ระบบสืบพันธุ์  เป็นการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์                                                                                  
              1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย                                                                                                                                      
 1. อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ สร้างฮอร์โมนเพศชาย              2. ถุงหุ้มอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสในการสร้างตัวอสุจิ3. หลอดเก็บตัวอสุจิ  ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนส่งผ่านไปยังหลอดนำอสุจิ         4. หลอดนำตัวอสุจิ ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ   5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ  สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ  6. ต่อมลูกหมาก  หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆเข้าไปในท่อปัสสาวะ  7. ต่อมคาวเปอร์ หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
1.3.2 อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง                                                                                                         1. รังไข่  ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง  2. ท่อนำไข่ เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก  3. มดลูก  เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว  4. ช่องคลอด เป็นทางผ่านของตัวอสุจิ เป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาสู่ภายนอก                                                                                                                         1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ                                                                                                                                                         1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย                                                                                                                   1. ต่อมใต้สมอง เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย  2. ต่อมหมวกไต ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน ชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร 3. ต่อมไทรอยด์  หลั่งฮอร์โมนไทรอกซินควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย  4. ต่อมพาราไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด  5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างฮอร์โมนอินซูลิน 6. รังไข่ ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ  อัณฑะ สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย  7. ต่อมไทมัส ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย                                               1.4.2 การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ                                                                                                          1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่                                                                       2. ดื่มน้ำในปริมาณเพียงพอ ประมาณ 6-8 แล้ว                                                                                                 3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ                                                                                                                                 4. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์                                                                                                               5. พักผ่อนให้เพียงพอ


1 ความคิดเห็น: