วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ

 
                 พฤติกรรมสุขภารมีผลต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรค ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมก็จะลดโอกาสของการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคได้ ในทางกลับกันการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ย่อมทำให้มีโอกาสเกิดโรคและความเจ็บป่วยต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพียงพฤติกรรมเดียว อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้มากมายหลายโรค ดังนั้นทุกคนควรตระหนักต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้มีโรคเกิดขึ้นกับตนเอง
โรค หมายถึง ความไม่สบายหรือการเกิดภาวะปกติขึ้นในร่างกาย โดยแสดงอาการผิดปกติหรือมีอาการเจ็บป่วยออกมาให้เห็น เช่น เป็นไข้ อ่อนเพลีย อาเจียน อุจจาระร่วง ปวดศีรษะ
พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว หรือชุมชน


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพดับการเกิดโรค
                 การเกิดโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์เกิดได้หลากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ
                 นอกจากการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคเพราะตัวเชื้อโรคแล้ว มนุษย์ยังเจ็บป่วยหรือเกิดโรคได้เพราะพฤติกรรมการดำรงชีวิตของตนเอง ทั้งในเรื่องของการทำงาน การบริโภค การพักผ่อน การมีเพศสัมพันธ์ การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย การเดินทาง หรือการติดต่อกับสังคม
อาจจะกล่าวได้ว่าพฤติกรรมสุขภาพเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเกิดโรคและการเจ็บป่วยของบุคคล อีกทั้งสามารถใช้ทำนายแนวโน้มของความเสียงต่อการเกิดโรคและการเจ็บป่วยของบุคคลล่วงหน้าได้ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่งด้วย

โรคและการเจ็บป่วยที่แบ่งตามลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพ

1.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขวิทยาส่วนบุคค       
                   พฤติกรรมสุขวิทยาบุคคล หมายถึง การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลที่ส่งผลให้มีสุขภาพดี เช่น การดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด การดูแลรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรง การล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย                         

2.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคและการโภชนาการ            
                  ประกอบด้วย การเลือกบริโภคอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยจากสารอันตราย ได้รับสารอาหารครบถ้วน 5หมู่ อย่างหลากหลาย และมีความพอดีกับความต้องากรของร่างกาย

3.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสารเสพติด เพศสัมพันธ์ และปัญหาทางสังคม                   
                  หากมีพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องดังกล่าวที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อการเกิดโรคและความเจ็บป่วย ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมโดยตรง เช่น บุคคลที่มีพฤติกรรมเสพสารเสพติดย่อมเจ็บป่วยง่าย ร่างกายทรุดโทรม                                                                         

 4.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสุขภาพจิต    
                  เช่น การเกิดโรคซึมเศร้า โรคจิต โรคประสาท มีอาการวิตกกังวล ซึ่งบั่นทอนสุขภาพร่างกายให้เจ็บป่วยโดยง่าย                                                                                                                   
 
5.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย  
                 การมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย ทั้งภายในบ้านในสถานที่ทำงาน ในโรงเรียน ในชุมชน หรือบนท้องถนน                                                                                                   
  
6.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี   
                 ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมขาดการออกกำลังกายก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ  และถ้ามีพฤติกรรมละเลยการตรวจสุขภาพประจำปีอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึ่งยากต่อการรักษาให้หายเป็นปกติได้                                                                                 
 7.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม     
                 เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง   โรคเลปโตสไปโรซีส (โรคฉี่หนู) เป็นต้น

การป้องกันโรคและอันตรายที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ
1.     รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลอยู่เสมอ ได้แก่ ทำความสะอาดร่างกายและของใช้ให้สะอาดดูแลรักษาฟันและเหงือกให้สะอาด แข็งแรง
2.     บริโภคอาหารสุก สะอาด ปลอดภัย และครบถ้วน 5 หมู่ อย่างหลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของร่างกายตามวัย
3.     ออกกำลังกายด้วยวิธีการที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
4.     ควบคุมหรือจัดการอารมณ์และความเครียดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น มองโลกในแง่ดี
5.     หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเสพสารเสพติด การสำส่อนทางเพศ และอบายมุขต่าง ๆ
6.     ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัย
7.     ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยง


นางสาวสิรภัทร ศรีรักษา ม.6/5 เลขที่  17 

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ


สุขภาพดีไม่มีซื้อ ไม่มีขาย แต่อยู่ที่ตัวเรา ต้องสร้างสุขภาพที่ดีด้วยตัวเราเองเมื่ออยากมีสุขภาพดี
ในงานด้านการแพทย์ แบ่งออกใหญ่ๆ ได้ 4 มิติคือ การส่งเสริมสุขภาพ, การป้องกันโรค, การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟู การรักษาหมอทําให้ท่านได้ แต่การสร้างสุขภาพนั้นต้องทําด้วยตัวของท่านเอง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกท่านที่จะต้องตระหนักถึงความสําคัญของการ ป้องกันไม่ให้ป่วยและการสร้างสุขภาพ ซึ่งใครทําใครได้ โดยมีคําแนะนําให้ปฏิบัติตัวง่ายๆ ยึดหลัก 4 อ. ในการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้

1)อารมณ์ 2) ออกกําลังกาย 3) อาหาร 4) อนามัยสิ่งแวดล้อม

มิติด้านอารมณ์/จิตใจ การเป็นคนที่มีอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ เชื่อว่าคนที่สนุกสนาน และการที่หัวเราะในระดับหนึ่งที่เหมาะสมจะทําให้สมองหลั่งสารสุข (endorphine) ซึ่งมีผลทําให้คนมีความสุข ไม่เครียด และสุขภาพดี ทั้งการฝึกฝนปรับตนให้ยอมรับความจริงได้ การยึดหลักสายกลางที่เหมาะสม การปลงตก การให้อภัย การฝึกสมาธิ จิตใจที่เข้มแข็งไม่ตามใจปาก ฯลฯ

มิติด้านอาหาร อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สําคัญ ควรเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะ ถูกหลักโภชนาการ เกิดประโยชน์ และประหยัด เช่น พวกข้าว ก็ควรเลือกข้าวกล้อง พวกข้าวเหนียว ขนมจีนควรหลีกเลี่ยง พวกผักควรเลือกผักสดใบเขียว หลีกเลี่ยงผักกระป๋อง พวกผลไม้ก็เลือกผลไม้สดๆ เช่น ชมพู่ ฝรั่ง หลีกเลี่ยงผลไม้สุกหวาน เช่น มะม่วงสุก หรือหวานจัด เช่น ลําไย องุ่น พวก ทุเรียนควรงดไปเลย
สําหรับพวกเนื้อสัตว์ปกติไม่ควรรับประทานมาก ถ้าจะรับประทานก็ควรเลือกเนื้อปลา ไข่ขาว ควรเลี่ยงเนื้อมันๆ เครื่องในสัตว์ต่างๆ

มิติการออกกําลังกาย การออกกําลังกายสม่ำ เสมอจะช่วยสร้างสุขภาพได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งนอกจากจะได้ผลดีต่อกล้ามเนื้อแล้ว ยังได้ผลดีต่อ หัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนเลือดอีกด้วย การออกกําลังกายสม่ำเสมออย่างพอเหมาะในระดับหนึ่งก็จะทําให้สมองหลั่งสารสุข (endorphine) ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ ทําให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า
มาสร้างสุขภาพที่ดีด้วยการออกกําลังกาย โดยออกกําลังกายวันละ 30-60 นาที ประมาณ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์

มิติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม มิตินี้มีความสําคัญ ช่วยทําให้ทุกๆ สิ่งรอบตัวเราเอื้ออํานวย และเป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นหลายปัจจัยประกอบกัน ที่จะช่วยลดการเจ็บป่วย ช่วยป้องกันไม่ให้คนป่วยเจ็บ และช่วยสร้างเสริมให้คนมีสุขภาพดีขึ้น เช่น สิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลพิษ มีการอนุรักษ์ธรรมชาติให้มีความสมดุล เช่น มีต้นไม้ จะให้ความร่มรื่น ผ่อนคลาย แล้วต้นไม้ใหญ่ๆ จะช่วยกําจัดพิษคือดูดคาร์บอนไดออกไซด์แล้วยังคลายอากาศบริสุทธิ์เป็น ออกซิเจนอีกด้วย

"มาเร่งสร้างเสริมสุขภาพที่ดีกันเถอะ   อย่าผัดวันประกันพรุ่งจนต้องรอซ่อม เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป"

นางสาวสิรภัทร  ศรีรักษา  ม. 6/5  เลขที่  17